ถาม-ตอบ (Q&A)
เรื่องจรวดขวดน้ำ
โพสโดย
ติดซั่ม' แอลดี
yennapa15032542@gmail.com

เรื่อง จรวดขวดน้ำกลุ่มสาระ
 
วิทยาศาสตร์ …………หลักการและเหตุผล            การจัดการเรียนการสอนโครงงานเรื่องจรวดขวดน้ำ       เป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางเลือกที่ผู้เรียนจะได้รับสาระประโยชน์             ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน    ทั้งด้านเนื้อหาสาระวิชาการ  โดยเฉพาะเกี่ยวกับกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน     การฝึกทักษะ       การฝึกฝนพัฒนาทักษะ  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์    เทคโนโลยีและความสนุกสนานตื่นเต้น      กิจกรรมจรวดขวดน้ำ    กระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์พัฒนาความสามารถในการประดิษฐ์ของผู้เล่น จากการนำขวดพลาสติก(ขวด PET)   ที่ทิ้งแล้วอาศัยจินตนาการและฝีมือมาประดิษฐ์ตกแต่ง  ต่อเติม  ให้เป็นรูปทรงจรวดที่ต้องการทั้งรูปร่าง     ทรวดทรงพร้อมแพนหาง หรือ ประดับแต่งแต้ม    สีสันตามใจชอบ         ควบคู่กับการคิดฝันออกแบบพัฒนาและประดิษฐ์ฐานปล่อยจรวดขวดน้ำให้จรวดขวดน้ำพุ่งขึ้นสู่อากาศสู่เป้าหมายที่ต้องการ           กิจกรรมจรวดขวดน้ำ  มีความท้าทายอยู่ในตัวนับตั้งแต่การคิดสร้างสรรค์  ประดิษฐ์จรวดขวดน้ำและฐานปล่อยจรวดขวดน้ำให้สำเร็จตามที่ออกแบบและพัฒนาการทดลองจนได้ผลเป็นที่พอใจ    ประการถัดมาคือสิ่งประดิษฐ์นั้นจะได้ผลตามวัตถุประสงค์ของผู้เล่นหรือไม่หรือสามารถปล่อยจรวดขวดน้ำลงสู่เป้าหมายที่กำหนดได้อย่างแม่นยำหรือไม่ขึ้นอยู่กับการสังเกต   ทดลอง    รวบรวมข้อมูล           และลงข้อสรุปของผู้เล่นในการผสม-ส่วนของปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่  ความดันอากาศ ปริมาณน้ำและมุมปล่อยจรวด อย่างเหมาะสม     กิจกรรมจรวดขวดน้ำ  มีต้นทุนต่ำจากการที่นำวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นของทิ้งแล้วหรือเหลือใช้มาสร้างสรรค์ตกแต่ง   อาศัยจินตนาการความคิดสร้างสรรค์     และฝีมือในการประดิษฐ์คิดค้นที่จะใช้ประโยชน์จากวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ตามความประสงค์    กิจกรรมจรวดขวดน้ำ      ครบเครื่องเรื่องสาระการเรียนรู้เชิงบูรณาการทั้ง   วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  การงานอาชีพและเทคโนโลยี       สุขศึกษาและพลศึกษา   สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม    ศิลปะ   ภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ            วัตถุประสงค์1.   เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการออกแบบ และประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ2.   เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะ      กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน3.  เพื่อให้นักเรียนได้นำกิจกรรมจรวดขวดน้ำไปใช้กิจกรรมเสริมในการเรียน     วิทยาศาสตร์4.  เพื่อเตรียมนักเรียนไว้เข้าร่วมแข่งขันจรวดขวดน้ำในระดับต่างๆ5.  เพื่อฝึกให้นักเรียนได้ทำงานเป็นทีมเป็นระบบ เป้าหมาย (คุณภาพ)1.  นักเรียนระดับช่วงชั้นที่  ประดิษฐ์จรวดขวดน้ำเเละพัฒนาทักษะ     กระบวนการวิทยาศาสตร์ 2.  เป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิดค้นกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมการเรียน   รู้ด้าน วิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีของนักเรียน             วิธีการสร้างและพัฒนา      อุปกรณ์         1.  ขวดน้ำอัดลมเเบบพลาสติก  2 ขวดขนาด  1.25  ลิตร       2.  กรรไกร / คัตเตอร์        3.  พลาสติกลูกฟูก / บัตรเติมเงินโทรศัพท์        4.  เทปใส / กาวร้อน / กาวตราช้าง                  5.  ดินน้ำมัน / หนังสือพิมพ์           6. ไม้บรรทัด           7.  ปากกาเคมี          8.  เครื่องชั่ง    วิธีการสร้าง            1.  เตรียมขวดน้ำอัดลมแบบพลาสติก  2  ขวด  ขนาด  1.25   ลิตร            2. ใช้คัตเตอร์ตัดขวดใบแรกจะได้หัวจรวดกับกระโปรง            3. นำดินน้ำมันใส่เข้าไปในหัวจรวดนำไปชั่งเพื่อหาน้ำหนักของส่วนหัว               จรวดพร้อมฝาขวด (ประมาณ  200  กรัม)   แล้วนำไปประกอบกับ                ขวดใบแรก            4.  ทาด้วยกาวร้อน /  กาวตราช้าง  /  เทปใสให้เเน่น            5.  ออกแบบแพนหางตามจิตนาการ แล้วตัดให้ได้ตาม-ส่วน            6. ใช้กรรไกร ทำรอยบากที่บริเวณฐานของครีบแพนหางแต่ละอัน                ประมาณ  4  รอบ            7.  นำมาติดรอบกระโปรง    เว้นระยะเท่าๆกันแล้วติดให้แน่นด้วยกาว           / เทปใส            8. นำหัวจรวดกับกระโปรงมาติดเข้ากับขวดใบที่สอง ทากาว /เทปใส               ให้แน่นและเรียบ ตรวจความสมบูรณ์ของตัวจรวด               9. จรวดขวดน้ำเสร็จสมบูรณ์ พร้อมนำไปยิงที่ฐานยิงที่พร้อมปรับมุม                 ฐานยิง เข้าร่วมแข่งขันประเภทความแม่นยำหรือประเภทความไกล                 โดยต้องได้  -ส่วนของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่   ความดันอากาศ           ปริมาณน้ำและมุมปล่อยจรวด   อย่างเหมาะสม          การพัฒนาการประดิษฐ์จรวจขวดน้ำ     ความน่าจะเป็น1.  เข้าใจกฎของนิวตัน      ว่าจรวดขวดน้ำออกแบบมาภายใต้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน   คือจรวดเคลื่อนที่สู่ท้องฟ้าด้วยกฎการเคลื่อนที่ข้อ 3  แรงกริยา  =  แรงปฏิกริยา   เมื่อเราใส่น้ำเข้าไปในจรวดและอัดอากาศเข้าไปน้ำจะทำหน้าที่ป้องกัน     ไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับออกมาการอัดลมเข้าไปทำให้ความดันภายในลำตัวจรวดสูงขึ้น       เมื่อดึงสลักออก  แรงดันอากาศภายในจะดันให้น้ำพุ่งออกมา ทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาดันให้จรวดพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า  เมื่อจรวดถูกปล่อยขึ้นไปแล้วแรงดันอากาศมิได้หายไปทันทีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ  เนื่องจากปริมาณน้ำที่อยู่ในขวดจะช่วยชะลอให้แรงดันค่อย ๆ ลดลง                     2.   การใช้วัสดุมาประดิษฐ์     การออกแบบจรวดส่วนหัว          ส่วนกระโปรง  ขนาด  น้ำหนัก  การใช้กาว                       3.  การปรับมุมฐานยิง / ประเภทยิงแม่น / ประเภทยิงไกล 4.  ความดันอากาศ / ปริมาณน้ำที่เหมาะสม   ก็จะประสบ         ผลสำเร็จ                                                           สรุปผลการดำเนินงาน            นักเรียนได้ทำงานเป็นทีมเป็นระบบ ร่วมกันคิดอย่างสร้างสรรค์  มี       จินตนาการในการออกแบบจรวดขวดน้ำ  ได้รู้หลักการ  ทฤษฎีและได้        พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   โดยการสังเกต  การทดลอง        หาเหตุปัจจัย  หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ  ซึ่งเป็นการ       จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.....
IP : 101.51.183.44
โพสเมื่อวันที่ : 16 ส.ค. 2558,17:03 น.
แสดงความเห็น
ความคิดเห็น :
ชื่อ :
อีเมล์ :
เบอร์โทร :
กรอกรหัส :